Gradle เป็นเครื่องมืออัตโนมัติที่ใช้ในการสร้าง (build) และจัดการโครงการ (project managment) สำหรับโครงการที่พัฒนาด้วยภาษา Java, Kotlin, Scala, C++, Python และภาษาอื่นๆ โดย Gradle ช่วยจัดการไลบรารี่ที่ต้องใช้งาน (libraries dependency) และกำหนดวิธีการสร้างโครงการ

Gradle ได้รับการยอมมารับในแง่ของความยืดหยุ่นในการใช้งาน สามารถขยายขีดความสามารถเพื่อรองรับโครงการจำนวนมากได้และมีประสิทธิภาพที่ดี Gradle รองรับการสร้างเฉพาะส่วนของโครงการที่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่การสร้างครั้งล่าสุด ทำให้กระบวนการสร้างเร็วขึ้น

Gradle รองรับการติดตั้งโปรแกรมเสริม (plug -in ) เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานอื่นๆ เช่น การกำหนดเวอร์ชั่นอัตโนมัติ การทดสอบอัตโนมัติ การออกรายงานในแง่มุมต่างของการทำโครงการ เป็นต้น

Gradle ใช้ภาษาเฉพาะทาง (domain specific language – DSL) คือภาษา Groovy (Apache Groovy) ในการเขียนสคริปเพื่อกำหนดขั้นตอนในการสร้าง (build) โครงการ ซึ่งภาษา Groovy นี้เป็นภาษาที่ใช้งานกับ java virtual machine ที่มีไวยากรณ์ของภาษาแบบเดียวกับภาษาจาวา ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาสามารถเขียนสคริปต์บิลด์ที่สามารถอ่านและบำรุงรักษาได้มากกว่าที่เขียนใน XML ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้โดยเครื่องมือสร้างอื่นๆ เช่น Apache Maven

Gradle ได้รับการยอมรับให้เป็นมาตรฐาน (de facto standard) ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับแอนดรอยน์

คุณสมบัติหลักๆของ Gradle คือ

  • Gradle ใช้ไฟล์การตั้งค่า (configuration file) หลายๆแบบเพื่อกำหนดวิธีสร้างโครงการ (build)
  • เราไม่จำเป็นต้องกำหนดขั้นตอนในการสร้างโครงการเอง Gradle จะใช้ค่าตั้งต้นที่กำหนดมา ซึ่งเราสามารถปรับแต่งได้ถ้าต้องการ
  • Gradle ช่วยดาวน์โหลดไลบรารี่ที่ต้องการรวมถึงจัดการเรื่องความผูกพัน (dependency) และความขัดแย้ง (conflict) ของเวอร์ชั่นของไลบรารี่ให้ด้วย
  • Gradle ช่วยให้เราสามารถออกแบบการสร้าง (build) ที่มีโครงสร้างที่ดีและบำรุงรักษาได้ง่าย Gradle ยังรองรับกรณีที่ซับซ้อนได้ด้วย เช่น การทำงานกับหลายโครงการหรือเฉพาะแค่บางส่วนของโครงการ-
  • Gradle ง่ายต่อการนำไปปรับใช้กับโครงการในทุกรูปแบบ
  • ใช้ภาษา Groovy ในการเขียนสคริปเพื่อกำหนดขั้นตอนการสร้างโครงการ
  • การสร้างหลายโครงการ ซึ่งช่วยให้เราสร้างและจัดการหลายโครงการร่วมกันได้
  • สามารถเก็บผลของการสร้างเพื่อเอาไว้ใช้ในครั้งถัดๆไปได้

ขั้นตอนคร่าวๆในการเริ่มใช้งาน Gradle

1. ดาวน์โหลดและติดตั้ง Gradle: สามารถดาวน์โหลด Gradle เวอร์ชันล่าสุดได้จากเว็บไซต์ทางการ (https://gradle.org/install/) และติดตั้งลงในเครื่องที่จะใช้งาน

2. สร้างไดเร็กทอรีของโครงการใหม่: สร้างไดเร็กทอรีใหม่บนเครื่องที่ต้องการสร้างโครงการ

3. เริ่มต้นโครงการ: ภายในไดเร็กทอรีโครงการ เรียกใช้คำสั่ง gradle init เพื่อเริ่มต้นโครงการ คำสั่งนี้จะสร้างโครงสร้างไดเร็กทอรีพื้นฐานและสร้างไฟล์สำหรับโครงการ

4. ไฟล์ build (build.gradle) : ไฟล์ build.gradle จะถูกสร้างขึ้นหลังจากเรียกใช้คำสั่ง gradle init ไฟล์นี้เป็นไฟล์ที่ใช้ในการกำหนดค่าหลักสำหรับ Gradle ซึ่งเราสามารถกำหนดขั้นตอนที่ต้องทำ (task) ไลบรารี่ที่ต้องใช้ (dependencies) และปลั๊กอิน (plug-in) สำหรับโครงการ

5. เพิ่มไลบรารี่ที่ต้องใช้ (dependencies) : หากต้องการเพิ่มไลบรารี่ที่ต้องใช้ในโครงการของ สามารถทำได้โดยเพิ่มระบุในบล็อก dependencies ในไฟล์ build.gradle

6. กำหนดขั้นตอน (task) : สามารถกำหนดขั้นตอนในไฟล์ build.gradle เพื่อทำให้ส่วนต่าง ๆ ของกระบวนการสร้างเป็นแบบอัตโนมัติ เช่น การคอมไพล์โค้ด การรันการทดสอบ หรือการสร้างไฟล์ jar

7. การสั่งทำงานตามขั้นตอน : เมื่อกำหนดขั้นตอนแล้วเราสามารถสั่งให้ทำงานตามขั้นตอนได้โดยใช้คำสั่ง gradle ตามด้วยชื่อขั้นตอน ตัวอย่างเช่น สามารถเรียกใช้คำสั่ง gradle build เพื่อสร้างโครงการ

8. เพิ่มปลั๊กอินอื่นๆ : Gradle มีปลั๊กอินมากมายที่สามารถใช้เพื่อเพิ่มฟังก์ชันให้กับโครงการ เช่น การรองรับภาษาต่างๆ กรอบการทดสอบ และเครื่องมือสร้าง

เมื่อทำตามขั้นตอนเหล่านี้ เราจะมีการตั้งค่าพื้นฐานสำหรับโครงการ Gradle และเราสามารถเริ่มสร้างและจัดการโครงการได้ด้วย Gradle

แนวทางในการใช้งาน Gradle กับองค์กรที่มีหลายโครงการ

แนวทางในการใช้งาน Gradle กับองค์กรที่ทีหลายโครงการ

1. ใช้ไฟล์ build จากส่วนกลาง: แทนที่จะมีไฟล์ build แยกต่างหากสำหรับแต่ละโครงการ ให้ใช้ไฟล์ build จากส่วนกลางที่มีโครงการทั้งหมดในองค์กร สิ่งนี้ช่วยให้การประสานงานดีขึ้นและสอดคล้องกันในโครงการต่างๆ

2. ใช้คุณสมบัติการสร้างหลายโครงการ: Gradle รองรับการสร้างหลายโครงการ ซึ่งช่วยให้เราสามารถจัดระเบียบโครงการออกเป็นโครงการย่อยและจัดการเป็นโครงสร้างเดียว สิ่งนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อทำงานกับโครงการจำนวนมาก

3. ใช้โครงสร้างไดเร็กทอรีมาตรฐาน: สร้างโครงสร้างไดเร็กทอรีมาตรฐานสำหรับโครงการทั้งหมดในองค์กรเพื่อให้สมาชิกในทีมสำรวจและทำความเข้าใจโค้ดเบสได้ง่ายขึ้น

4. ใช้ที่เก็บไลบรารี่ร่วมกัน : ใช้ที่เก็บไลบรารี่ร่วมกัน เช่น Nexus หรือ Artifactory เพื่อจัดการการผูกพัน (dependencies) สำหรับโครงการทั้งหมด สิ่งนี้ทำให้สามารถจัดการการผูกพันได้ดีขึ้นและสามารถช่วยป้องกันความขัดแย้งของเวอร์ชันได้

5. ใช้คุณสมบัติของ gradle: ใช้คุณสมบัติ gradle เพื่อกำหนดตัวแปรที่สามารถแชร์ข้ามโครงการได้ ซึ่งช่วยให้สามารถจัดระเบียบและบำรุงรักษาไฟล์ build ได้ดีขึ้น

6. ใช้ gradle wrapper: Gradle wrapper เป็นสคริปต์ที่อนุญาตสำหรับการดำเนินการของ gradle build แม้ว่าจะไม่มีการติดตั้ง gradle บนเครื่อง ดังนั้นจึงควรรวม gradle wrapper ไว้ในโปรเจ็กต์ เพื่อให้มั่นใจว่าสมาชิกในทีมทุกคนกำลังใช้ gradle เวอร์ชันเดียวกัน โดยไม่คำนึงถึงการตั้งค่าในเครื่อง

7. ใช้ระบบควบคุมเวอร์ชัน: ใช้ระบบควบคุมเวอร์ชัน เช่น git เพื่อจัดการ codebase และไฟล์ build ซึ่งช่วยให้ทำงานร่วมกันและติดตามการเปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้น

8. ใช้ continuous Integration : ใช้เครื่องมือ continuous Integration เช่น Jenkins, Travis CI หรือ CircleCI เพื่อทำให้กระบวนการสร้างเป็นไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะทำให้ได้ผลตอลรับเร็วขึ้นและการทำงานร่วมกันง่ายขึ้น

เมื่อปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้ เราจะมั่นใจได้ว่าทีมของเราใช้ Gradle ในลักษณะที่สอดคล้องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพโดยรวมของ codebase และทำให้การทำงานในหลาย ๆ โครงการพร้อม ๆ กันง่ายขึ้น